2.  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
                สิ่งแวดล้อมทั้งหลายไม่ว่าจะอาศัยที่ใดก็ตามจะต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมนั้นไม่เคยปรากฏว่าสิ่งมีชีวิตใดในธรรมชาติจะอยู่ได้โดยลำพังเพียงตัวเดียว  สิ่งมีชีวิตทั้งมวลต่างก็มีความเกี่ยวข้องกัน ร่วมมือกัน  พึ่งพากัน อยู่ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนกัน เป็นสิ่งแวดล้อมให้แก่กัน ควบคุมสมดุลของจำนวนระหว่างชนิด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมนี้  ทำให้มีการจัดตัวเป็นแบบแผนเฉพาะและมีการทำงานอย่างมีระบบเกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างไปจากชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  แบบแผนของชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันนี้เรียก  “Pattern of Diversity”  มีดังนี้


                1. Stratification Pattern  เป็นแบบแผนของชุมชน  หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีการกระจายของสิ่งมีชีวิตอยู่ทั่วไปในลักษณะเป็นแนวตั้ง (Vertical Layering) เช่น ต้นไม้ที่มีระดับขนาดแตกต่างกันไป  ในพวกไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและไม้ล้มลุก
                2.  Zonation Pattern  เป็นแบบแผนของชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีการกระจายของสิ่งมีชีวิตต่อเนื่องลดหลั่นกันไป เนื่องจากความแตกต่างกันของระดับความอดทนที่มีต่อสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปทีละน้อย  ทำให้เกิดเป็นเขตต่างๆ ขึ้น
                3. Activity Pattern  แบบแผนของชุมชน หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตแบบนี้  เกิดจากการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม  การทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต  สิ่งมีชีวิตบางพวกออกหากินเวลากลางคืน  บางพวกก็ออกหากินในเวลากลางวัน  ซึ่งทั้งสองพวกนี้จะมีความไวคนละช่วงเวลา (Periodicity)  ทำให้แบบแผนของชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา
                4.  Food Web Pattern  เป็นแบบแผนของชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากความสัมพันธ์เชิงอาหาร  (Food Relationship)  ในลักษณะที่ซับซ้อนหรือที่เรียกว่า  สายใยอาหาร  ซึ่งมีผลดีและให้ประโยชน์ในการถ่ายทอดพลังงาน  และรักษาสมดุลของธรรมชาติ
                5. Reproductive Pattern เป็นแบบแผนของชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
กระบวนการสืบพันธุ์
                6.  Social Pattern  เป็นแบบแผนของชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการรวมฝูงกัน เช่น  โขลงช้าง  ฝูงลิง 
                7. Coactive Pattern    เป็นแบบแผนของชุมชน  หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการกระทบกระทั่งกันซึ่งมีหลายรูปแบบ  เช่น  ภาวะพึ่งพากัน  ภาวะอิงอาศัย  การแข่งขัน และ Antibiosis
                8. Stochastic Pattern เป็นแบบแผนของชุมชนหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการพัดพาของกระแสลม กระแสน้ำ  เช่น แพลงตอน แมงกะพรุน จอก แหน ผักตบชวา มะพร้าว เป็นต้น ซึ่งมีการผันแปรตลอดเวลา ทำให้มีแบบแผนไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับแรงธรรมชาติ