การปรับเปลี่ยนระบบนิเวศ (Ecological Succession)

          การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ(Ecological Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ เช่น มีสิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้น เกิดชุมชนใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนชนิดของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในชุมชนแห่งนั้นไปด้วย  โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องใช้เวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพอสมควร   การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีสาเหตุสำคัญพอสรุปได้  4  ประการ  คือ
                1. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา (Geological Cycle) อาจทำให้เกิดธารน้ำแข็งภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว  คลื่นสึนามิ  ล้วนเป็นสาเหตุให้ดุลธรรมชาติในกลุ่มสิ่งมีชีวิตเสียไป
                2.  ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภัยวิบัติต่าง ๆ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม พายุทอร์นาโด  (Tonado)  พายุเฮอริเคน (Hericanes) ทำให้สภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตถูกทำลายไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขึ้นใหม่
                3.  ปัจจัยจากการกระทำของมนุษย์  (Human  Factor)  ได้แก่  การตัดไม้ทำลายป่า  การทำไร่เลื่อนลอย  ภาวะมลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำและอื่น ๆ ซึ่งมีผลทำให้สภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป  ดุลธรรมชาติถูกทำลาย  เกิดโรคระบาด  แมลงศัตรูพืชระบาดทำให้สิ่งมีชีวิตล้มตาย  จึงเกิดการเปลี่ยนแปลแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตขึ้นใหม่อีก
                4.  ปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อแหล่งที่อยู่อาศัย  เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่  เพราะกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่  ทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น  เช่น  อุณหภูมิ  ความเข้มข้นของแสง ความชื้น  ความเป็นกรด  ด่างของพื้นดินหรือแหล่งน้ำและอื่น ๆ  เปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อยจนในที่สุดไม่เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มเดิม  เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เหมาะสมกว่า


                การปรับเปลี่ยนของระบบนิเวศ  มี  2  ชนิด  คือ
                1.  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ  (Primary Succession)  เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งที่ไม่เคยปรากฏสิ่งมีชีวิตใด ๆ มาก่อน  เช่น  บริเวณภูเขาไฟระเบิดใหม่  การเกิดแหล่งน้ำใหม่
                2.  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นทุติยภูมิ  (Secondary  Succession)  เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งที่เคยมีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ก่อนแล้วแต่ถูกทำลายไป  จึงมีการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขึ้นใหม่เพื่อกลับเข้าสู่สภาพสมดุล  เช่น  บริเวณที่เคยเป็นป่าถูกบุกเบิกเป็นไร่นา  แล้วละทิ้งกลายเป็นทุ่งหญ้าในภายหลัง  ต่อมามีไม้ล้มลุก  ไม้พุ่ม  ไม้ใหญ่เข้าแทนที่ตามลำดับจนกลายเป็นป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง



ประโยชน์ของการรักษาระบบนิเวศ

                การรักษาระบบนิเวศให้คงสภาพมีจุดประสงค์เพื่อรักษาสภาพกับดุลของธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง พอสรุปได้ดังนี้
                1. ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ สภาพของธรรมชาติที่อยู่ในภาวะสมดุลย่อมก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม  มีความร่มรื่น  เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี
                2. คุณค่าทางด้านการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ระบบนิเวศที่อยู่ในธรรมชาติจะเป็นแบบอย่างให้มนุษย์จำลองระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ เช่น ความร่มรื่นของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กับสภาพที่มนุษย์ปรับปรุงขึ้นมาที่สวนพฤกษศาสตร์พุแค  ความแตกต่างของสถานที่สองแห่งนี้จะเห็นได้ชัดระหว่างธรรมชาติล้วน ๆ กับป่าที่มนุษย์ปรับปรุงตกแต่งขึ้น
                3.ทางการศึกษาสภาวะแวดล้อม สภาพของระบบนิเวศหรือองค์ประกอบแต่ละส่วนของระบบนิเวศ  สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้สภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้  เช่น  การคดงอของหางลูกกบ  เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเกิดจากยากำจัดศัตรูพืชและจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  การม้วนของใบพืชบางชนิดเกิดเนื่องจากได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นมลสารในอากาศ
                4.ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางครั้งต้องใช้ตัวอย่างที่เหมาะสม  เช่น  หอยทากชนิดหนึ่งมีระบบประสาทที่ง่ายและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักประสาทวิทยา 
                5.  คุณค่าทางด้านการอนุรักษ์  การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ  ธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  ให้เสื่อมโทรมก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่มนุษย์  เนื่องจากเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นการยากที่จะทำให้กลับมามีสภาพดังเดิม และการเปลี่ยนแปลงอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์  เช่น  การทำลายป่า  การถมคลอง  หนอง  บึง  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง  น้ำท่วม  น้ำป่าไหลหลากอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นการรักษาระบบนิเวศให้คงสภาพตามธรรมชาติ  หรือก่อให้เกิดความ    สมดุลอย่างเสมอจะอำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างมากมายแนวความคิดในเรื่องของนิเวศพัฒนาจึงเกิดขึ้น
ระบบนิเวศมีทั้งที่เกิดขึ้นมาเองตามธณรมชาติและระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในภายหลัง เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นบางระบบม่าสารมารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเองต้องพึ่งพาระบบนิเวศอื่นอยู่เสมอ เช่น ระบบนิเวศเมืองต้องอาศัยสารอาหาร  วัตถุดิบการผลิต จากที่อื่นเสมอ